ดนู ฮันตระกูล
ประวัติบุคคล : ดนู ฮันตระกุล
ดนู ฮันตระกูล
เป็นนักประพันธ์นามอุโฆษเจ้าของเพลง The Light of Asia อันยิ่งใหญ่ี่ปิดงานเอเชี่ยนเกมส์ ที่กรุงเทพ ฯ ในปี ๒๕๔๑ และเพลง "ไอ้หนุ่มผมยาว" ที่สะเทือนเลื่อนลั่นทั้งในและนอกวงการเพลงลูกทุ่งทั่วแดน สยาม แฟนเพลงตัวจริงติดตามผลงานที่เจ้าตัวเซียนให้วง ไหมไทย ออร์เครสตรา บรรเลง ทั้งที่เป็นผลงานเรียบเรียง เพลงไทยเก่าและเพลงี่แต่งขึ้นใหม่ รวมถึงเพลงประกอบละครเรื่อง "เด็กชายปรีดดี" สำหรับการแสดงในปี ๒๕๔๔ โดยมูลนิธิเด็ก และกับผลงานเพลงล่าสุด "ลมเหนือ น้ำหนาว"
ดนู ฮันตระกูล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมื่อปี พ.ศ. 2519 หลังจากจบการศึกษาทางด้านเอกการประพันธ์จาก รอยัลคอนเซอร์วาตอรี่ กรุงเฮกประเทศเนอเธอร์แลนด์ ดนู ฮันตระกูล ได้ก่อตั้งภาคีวัดอรุณ คณะภาคีวัดอรุณได้รวบรวมเพื่อนพ้องทางดนตรีไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น จิรพรรณ อังศวานนท์, สุรสีห์ อิทธิกุล, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา และนันทิกากาญจนวัฒน์ ซึ่งมีแกนนำอย่าง บรูซ แกสตัน และธนวัฒน์ (อนุวัฒน์) สืบสุวรรณ
หลังจากนั้นไม่นาน ดนู ฮันตระกูล ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนดนตรีศศิลิยะ และได้เชิญเขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อจากรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกันสมัยอยู่เมืองไทย เข้ามาเป็นผู้บริหารงานในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ดนู ฮันตระกูล ได้เปิดบริษัทบัตเตอรี่ฟลาย ซาวนด์แอนด์ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด
ร่วมกับหมู่คณะทางดนตรีอีกหลายท่านที่มาจากกลุ่มภาคีวัดอรุณเข้าร่วมอีกครั้ง เช่าน จิรพรรณ อังศวานนท์ สุรสีห์ อิทธิกุล กฤษณ์ โชคทิพย์วัฒนาและอื่น ๆ อีกหลายท่านที่เข้ามาสมทบ เกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเพลงโฆษณาทั้งหลายที่สังคมได้ยินได้ฟังทางสื่อต่าง ๆ นั้นล้วนเป็นผลงานจากกลุ่มคนบัตเตอฟลายทั้งสิ้น หากจะกล่าวประโยคที่ว่า "ผีเสื้อครองเมือง" ก็คงไม่ผิด จากความมุ่งหมายที่ต้องการให้โรงเรียนดนตรีศศิลิยะ เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง วงคีตกวีจึงถือกำเนิด โดยมีเขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ และอัสนี โชติกุลเป็นผู้เขียนคำร้อง ในการนี้ เรวัติ พุทธินันทน์ อดีตสมาชิกของThe Impossible และ Oriental Funk ได้ก้าวเข้ามามีส่วนร่วม ภายใต้การอำนวยการผลิตโดย ดนู ฮันตระกูล และได้ใช้ชื่อชุดว่า "เรามาร้องเพลงกัน"การรวมตัวกันในครั้งนั้น เป็นการนำเสนอ และแสดงออกทางด้านความนึกคิดต่าง ๆ ผ่านบทเพลง ไปจนถึงอุดมการณ์ของชีวิตทาง สังคม และ ปรัชญา
แรงจูงใจแห่งความสำนึกของชุมชนโลกกว้างที่มุ่งไปทางสันติภาพในช่วงเวลาของสงครามเวียดนาม การเรียกร้อง แสวงหาสันติภาพ รวมไปถึงขบวนการฮิปปี้ที่เกิดขึ้นในยุดนั้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อดนตรีของพวกเค้า บทเพลงที่กรั้นกรองสู่งสัมคมจึงไม่ใช่แค่ความไพเราะ หรือโก้เก๋เท่านั้นดนตรีที่ปั้นแต่งพร้อมกับอุดมการณ์จึงทำให้เนื้อหาค่อนข้างจะฟังยากอยู่หลายปี ดนู ฮันตระกูล ได้เริ่มก่อตั้งวงดนตรีไหมไทย เมื่อปี พ.ศ. 2530 ไหมไทยถือเป็นรูปแบบดนตรีเครื่องสาย 12 ชิ้น และพิณฝรั่ง ซึ่งเป็นวงดนตรีที่บรรเลงและขับร้องได้หวานซึ้ง นิ่มนวล ยึดถือธรรมชาติวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนของวง และในปีเดียวกัน 2530 ก็มีผลงานเพลงชุดแรก คือ ชีพจรลงเท้า และเขมรไทรโยกออกสู่สังคมไหมไทยได้ร่วมงานกับ จรัล มโนเพ็ชร ออกเพลงชุด ลำนำแห่งขุนเขา โดยนำ เอาเพลงที่จรัล มโนเพช็รแต่งมาร่วมร้องออกลักษณะพื้นเมืองเหนือจนกระทั่งมาถึงงานเพลงชุด เงาไม้ ใน ปี 2532 ไหมไทย ได้เพิ่มนักร้องหญิงคือ สุภัทรา อินทรภักดี สร้างเพลงร้องและประสานเสียง คือเป็นมิติใหม่เต็มรูปแบบของไหมไทย ปัจจุบันวงไหมไทย ได้กลายเป็นวงแซมเบอร์ ออร์เคสตร้า ขนาดใช้ 32 คนใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงตามแบบฉบับวงดนตรีชั้นนำทางประเทศตะวันตก
วงไหมไทย ได้สรรสร้างบทเพลงมากมายให้กับวงการเพลงบ้านเรา แต่อาจจะรู้กันไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และไม่ได้เขียนเพลงแบบอย่างที่นิยมตาตลาดไทยในขณะนี้ดนู ฮันตระกูล ถือเป็นอาจารย์ของคนในวงการเพลงหลาย ๆ คน นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และฝรั่งเศสปัจจุบันดนู ฮันตระกูล ยังคงเรียบเรียงผลงานเพลงอยู่เรื่อย ๆ และมีการแสดงเป็นครั้งคราวคู่กับวงไหมไทยในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อนำเสนอดนตรีอันเกี่ยวโยงกับศิลปะ และวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังทำธุรกิจร้านอาหารยุโรปกับครอบครัวบริเวณถนนสุขุมวิทอีกด้วย